เด็กเร่รอนปัญหาสังคมที่เกิดจากความล่มสลายของสถาบันครอบครัว

เด็กเร่รอนปัญหาสังคมที่เกิดจากความล่มสลายของสถาบันครอบครัว

บทคัดย่อ สรุปเรื่องราว

เด็กเร่ร่อนทุกคน ไม่ได้มีความตั้งใจ หรือความพยายามว่า จะออกมา เป็นเด็กเร่ร่อน แต่เด็กได้รับความกดดันทั้งจากตัวเด็กเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม ที่อยู่รอบ ๆ ตัวเด็ก ในอดีต เป็นอย่างไร ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวก็ยังคงอยู่ ทั้งเรื่อง ความเชื่อ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และล่าสุด ยังมีแรงดึงเด็กให้ออกมาจากครอบครัวมาสู่ถนนเพิ่มมากขึ้น ทั้งที่เกิดจากเทคโนโลยี และ สังคมที่เปลี่ยนไป เด็กบางคน มีปัญหาภายในครอบครัวอยู่แล้ว และเมื่อได้ออกมาสู่สังคมภายนอกที่มีแรงดึงที่รุนแรง เด็กที่อ่อนแอและไม่มีแรงฉุดรั้งจากครอบครัวอยู่แล้ว ก็ทำให้เด็กหลุดออกมาสู่สังคมข้างถนนได้เร็วมากขึ้น

ปัญหาเด็กเร่ร่อนเป็นปัญหาที่พบได้ในเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก โดยแต่ละประเทศต่างก็พยายามแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งมาตรการในการแก้ปัญหาเด็กเร่ร่อนที่ได้ผลในประเทศต่าง ๆ สามารถนำมาปรับใช้ได้กับประเทศไทย การที่ไม่อาจปรับตัวให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้ครอบครัวไม่อาจทำ หน้าที่ บทบาทของตนได้อย่างสมบูรณ์ เกิดความห่างเหินของคนในครอบครัว ไม่มีเวลาพูดคุยปรึกษาหารือกัน ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน เกิดปัญหาการอย่าร้าง การทอดทิ้ง เสี่ยงต่อการที่บุตรประพฤติในทางไม่เหมาะสมตามมาทำให้เด็กไม่ต้องการที่จะอยู่บ้าน จึงออกมาใช้ชีวิตเร่ร่อนในที่สุด

ปัญหาเด็กเร่ร่อนเป็นปัญหาที่มีมานาน และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ เป็นปัญหาสังคมที่เชื่อมโยงกับปัญหาอื่น ๆ การศึกษาวิถีชีวิตของเด็กเร่ร่อน ทุกแง่มุมจะทำให้รัฐและสังคมตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและหันมาสนใจแก้ ปัญหาอย่างรีบด่วนและจริงจังมากกว่าเดิม

เหตุผลประกอบในการเสนอเรื่องราว

เพื่อการลดจำนวนเด็กเร่ร่อนและศึกษาสถานการณ์อีกทั้งปัญหาเด็กเร่ร่อน ในประเด็นสภาพแวดล้อมและโครงสร้างทางสังคมที่ทำให้เกิดปัญหาเด็ก รวมทั้งทบทวนการดำเนินงานของหน่วยงานและองค์กรที่ดำเนินงานด้านนี้ เพราะในปัจจุบันการดำเนินงานของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาเยียวยายังเห็นผลเพียงส่วนน้อย ทั้งนี้เพื่อไม่ให้จำนวนเด็กเร่ร่อนเพิ่มสูงขึ้นจึงมีความจำเป็นต่อการศึกษาเพื่อนำเสนอการแก้ใขปัญหาดังกล่าวให้ลดลง

การตั้งชื่อเรื่องที่จะทำ

การแก้ใขปัญหาเด็กเร่ร่อนสู่การพัฒนาสังคมในอนาคต

วัตถุประสงค์ในการเสนอผลงาน

1. เพื่อแก้ใขปัญหาการเพิ่มจำนวนของเด็กเร่ร่อนตามสถานที่ต่างๆ

2. เพิ่มความเข้าใจถึงการทำงานของหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการช่วยเหลือเด็กเร่ร่อน

3. เพื่อลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและสังคมรวมทั้งปัญหา อาชญากรรมและยาเสพติด

4. เพื่อให้เข้าใจถึงสภาพปัญหาต่างๆ ว่าทำไมถึงได้มีเด็กเร่ร่อนในสังคม

5. เพื่อเข้าใจถึงปัญหาของการพัฒนาในสังคมที่ทำให้มีการเพิ่มจำนวนของเด็กเร่ร่อน

ประเด็นหลัก

พิ้นฐานทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัว

ประเด็นเสริม หรือ ประเด็นที่มาสนับสนุนเรื่อง

สังคมที่ขาดการดูแลภายใต้ภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

การพัฒนาสังคมและความรุนแรงในครอบครัว

คุณค่าของผลงานต่อสังคม

เพื่อต้องการให้เกิดการพัฒนาไปในทางที่ควรของสังคมเพื่อลดปัญหาสภาพสังคมที่เต็มไปด้วยเด็กเร่ร่อนที่ต้องการผู้ดูแลและลดจำนวนของเด็กกำพร้าหรือเด็กเร่ร่อน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มสภาพการเป็นอยู่ให้ดีขึ้นทั้งในครอบครัวและสังคม เพราะการช่วยเหลือจะเป็นการลดการเกิดปัญหาทางสังคมไม่ว่าจะเป็นวิธีแก้ใขสภาพปัญหาทางครอบครัว ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม

กำหนดแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง พร้อมแนวคำถามสัมภาษณ์แหล่งข่าวทุกคน
แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง

สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร

1. ในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการกำหนดมาตรการ แนวทางแก้ไขปัญหาเด็กเร่ร่อน มีวิธีการปฎิบัติการแก้ใขปัญหาหรือวิธีการดำเนินการอย่างไร

2. สังคมและประชาชนจะได้อะไรจากการประชุมครั้งนี้

3. เมื่อเข้าถึงกลุ่มเด็กเร่ร่อนที่ประสบปัญหาอยู่จริงจะมีวิธีการช่วยเหลือพวกเขาอย่างไร

4. จากเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา องค์กรนี้ได้พบเจอปัญหาทางครอบครัวและความรุนแรงที่เกิดจากการพัฒนาหรือไม่

5. กรมพัฒนาสังคมจะมีวิธีการจัดการอย่างไรเมื่อเจอเด็กเร่ร่อนที่สร้างความเดือดร้อนให้กับสังคม
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

1. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าถึงกลุ่มครอบครัวที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหามากน้อยเพียงใดในส่วนของชุมชนต่างๆ

2. จำนวนของเด็กเร่ร่อนในชุมชนที่รับผิดชอบมีจำนวนเท่าไหร่แล้วจะมีวิธีในการแก้ใขอย่างไร

3. องค์กรได้ให้ความสำคัญมากน้อยเพียงใดกับการจัดการกลุ่มปัญหาเด็กเร่ร่อนที่ยังไม่มีที่อยู่อาศัย

4. เหตุผลที่เด็กเหล่านี้ต้องมาเร่ร่อนในแหล่งชุมชนหรือที่ต่างๆ เกิดขึ้นเพราะเหตุผลใดเป็นส่วนใหญ่

5. สังคมชุมชนได้ให้อะไรกับเด็กที่ครอบครัวประสบปัญหาทางเศรษฐกิจหรือบ้านที่ต้องดิ้นรนและยากจน

อธิบายลักษณะของคำถามที่ใช้

ลักษณะของคำถามที่ใช้ คือ การตั้งคำถามเพื่อการสัมภาษณ์ โดยมีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานสำนักพัฒนาสังคมว่าจะมีวิธีการจัดแก้ใขอย่างไรกับจำนวนหรือปัญหาที่เกิดขึ้นจากจำนวนเด็กเร่ร่อนที่เพิ่มจำนวนขึ้นทุกวัน และตัวองค์กรได้ให้อะไรกับสังคมและชุมชมเพื่อเป็นการเยียวยา และการตั้งคำถามสัมภาษณ์ถึงกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งสำคัญมากในด้านปัญหาเด็กเร่ร่อน โดยจะเข้าถึงส่วนของสังคมครอบครัวได้อย่างไร

ข้อมูลประกอบอื่นๆ และเบื้องหลังการผลิตผลงาน

ข่าวและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาเด็กเร่ร่อน

ปัญหาเด็กเร่ร่อนเป็นปัญหาที่มีมานาน และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ เป็นปัญหาสังคมที่เชื่อมโยงกับปัญหาอื่น ๆ การศึกษาวิถีชีวิตของเด็กเร่ร่อน ทุกแง่มุมจะทำให้รัฐและสังคมตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและหันมาสนใจแก้ ปัญหาอย่างรีบด่วนและจริงจังมากกว่าเดิม

ปัญหาเด็กเร่ร่อนเป็นปัญหาที่พบได้ในเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก โดยแต่ละประเทศต่างก็พยายามแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งมาตรการในการแก้ปัญหาเด็กเร่ร่อนที่ได้ผลในประเทศต่าง ๆ สามารถนำมาปรับใช้ได้กับประเทศไทย งานวิจัยเรื่องนี้จึงได้นำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาเด็กเร่ร่อนในประเทศต่าง ๆ ถึง ๑๒ ประเทศ รูปแบบในการแก้ปัญหาเด็กเร่ร่อนในประเทศดังกล่าว สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ แนวทาง คือ (1) การให้การศึกษา (2) การให้ทำงาน และ (3) การให้ความช่วยเหลือบนท้องถนน
สำหรับเด็กเร่ร่อนในประเทศไทยนั้นพบว่า กรุงเทพมหานครมีจำนวนเด็กเร่ร่อนมากที่สุด โดยเด็กเร่ร่อนเหล่านี้อาศัยอยู่ตามที่สาธารณะต่าง ๆ เช่น หัวลำโพง สนามหลวง เชิงสะพานพุทธ วงเวียนใหญ่ สวนศรีนครินทร์ ลาดพร้าว พัฒน์พงษ์ สวนลุมพินี และเชิงสะพานปิ่นเกล้า สาเหตุที่ทำให้เด็กเหล่านี้ออกมาเร่ร่อน ได้แก่ ปัญหาครอบครัว ปัญหาจากโรงเรียน และปัญหาที่เกิดจากนายหน้าและเพื่อน เด็กเร่ร่อนเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังชีพอยู่ได้ด้วยการขอทาน การขายของ และการขายบริการทางเพศ เด็กเร่ร่อนส่วนใหญ่มักเสพยาเสพย์ติดประเภทต่าง ๆ เช่น บุหรี่ แล็กเกอร์ ยากล่อมประสาท ยาม้า และเฮโรอีน

การดำเนินชีวิตอยู่บนท้องถนน เด็กเร่ร่อนจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่ายอาทิ เพื่อน ตำรวจ เจ้าหน้าที่กรมประชาสงเคราะห์ และครูข้างถนน ซึ่งระดับความสัมพันธ์กับบุคคลเหล่านี้มีทั้งในลักษณะที่พึ่งพาอาศัย ขอความช่วยเหลือ ช่วยแก้ไขปัญหา และพยายามหลีหนีให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ครูข้างถนนเป็นกลุ่มที่เด็กเร่ ร่อนให้ความไว้วางใจมากที่สุด ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่จากกรมประชาสงเคราะห์ เป็นกลุ่มที่เด็กเร่ร่อนจะพยายามหนีออกห่างให้มากที่สุด

“จำนวนเด็กถูกทอดทิ้งตัวเลขมีแนวโน้มสูงขึ้น สาเหตุน่าจะมาจากเพราะวัยรุ่นสมัยนี้โตเร็ว เรื่องของการมีเพศสัมพันธ์เด็กยุคนี้อาจจะใจกล้ามากกว่าเมื่อก่อน แต่ไม่อยากจะให้มองว่าผลพวงของเด็กถูกทอดทิ้งมาจากเด็กใจแตกเพียงอย่างเดียว แต่มันมีผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจและภาวะสังคมด้วย ที่สำคัญคนรู้กฎหมายมากขึ้น เขาจะไม่ฆ่าลูกที่เกิดมาแต่จะใช้วิธีทิ้งตามโรงพยาบาล ทิ้งตามสถานที่ต่าง ๆ หรืออุ้มมาที่หน้าสถานสงเคราะห์ ทำให้จำนวนเด็กที่ถูกทอดทิ้งเพิ่มมากขึ้น” คือคำพูดของ คุณนภา เศรษฐกร ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก

เด็กเร่ร่อน ปัญหาที่ดูคล้ายจะไกลตัวแต่แท้ที่จริงเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นใครในชุมชน ในสังคม ต่างก็สามารถเป็นได้ทั้งผู้ป้องกันการเร่รอนของเด็ก หรือจะกลายเป็นผู้ผลักดันผลักไสเด็กให้ออกมาสู่ถนนเพื่อเป็นเด็กเร่ร่อน หากช่วยเหลือพวกเขาได้แม้เพียงนิดก็แสดงน้ำใจหน่อยเถิดครับ ถือเสียว่าทำบุญก็แล้วกันเนอะ

สาเหตุของการเกิดปัญหาเด็กเร่ร่อน อาจเกิดได้หลายปัจจัยแบ่งได้ดังนี้

เด็กเร่ร่อน : จุดหักเหในการออกมาใช้ชีวิตเร่ร่อน

ปัจจัยที่ 1 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ

เด็กที่เป็นกรณีศึกษาทั้งหมดเป็นเด็กที่มาจากต่างจังหวัด และส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ความยากจนของครอบครัวส่งผลให้เด็กไม่ได้รับสวัสดิการตามที่ต้องการอย่าง เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารการกิน การศึกษา สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่ ด้วยเหตุนี้ ทำให้เด็กต้องดิ้นรนแสวงหาสิ่งที่ตนต้องการด้วยตนเอง โดยทางเลือกคือ การออกจากบ้านมาเร่ร่อน เพื่อทำอาชีพเลี้ยงตัวเอง และในบางรายพ่อแม่ของเด็กเอง คือ ผู้ที่ส่งให้เด็กออกมาประกอบอาชีพเพื่อนำรายได้ไปเลี้ยงครอบครัว ซึ่งนั่นเองคือ จุดเริ่มต้นให้เด็กออกมาเร่ร่อน

ปัจจัยที่ 2 ปัญหาครอบครัว

จากการศึกษาพบว่าปัญหาส่วนใหญ่มาจากปัญหาครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการหย่าร้างของพ่อแม่ การใช้ความรุนแรง การทะเลาะกัน การแต่งงานใหม่ของพ่อแม่ฯลฯ ปัญหาต่างๆเหล่านี้ ต่างสร้างความกดดันให้เด็ก ดึงความสนใจของพ่อแม่ไปจากตัวเด็ก ทำให้เด็กขาดความรักความอบอุ่น

เด็กจึงต้องออกมาเร่ร่อน เพื่อให้พ้นจากสภาพความอึดอัดดังกล่าว จึงต้องยอมรับว่าปัญหาครอบครัวเป็นปัญหาที่ทำให้เด็กออกมาเร่ร่อนปัญหา หนึ่ง

ปัจจัยที่ 3 ปัญหาจากตัวเด็กเอง

เด็กวัยรุ่นกำลังอยากรู้อยากเห็น และอยากลอง ต้องการความเป็นอิสระ ต้องการหาประสบการณ์แปลกๆใหม่ๆ ชอบฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ระเบียบต่างๆ รวมทั้งต้องการมีกลุ่ม มีพวกพ้องเพราการมีพวกพ้องเป็นวิถีให้เด็กได้รับตอบสนองความต้องการหลาย ประการ เช่น ความรู้สึกอบอุ่นใจ การได้รับการยกย่อง ความรู้สึกว่ามีผู้เข้าใจตน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับตน จึงเป็นผลให้เด็กเลือกใช้ชีวิตอยู่นอกบ้านกับเพื่อนมากกว่าอยู่กับพ่อแม่และ รู้สึกว่าถูกบังคับให้ทำสิ่งต่างๆตามความต้องการของพ่อแม่

ปัจจัยที่ 4 ปัญหาจากโรงเรียน

จากกการศึกษาพบว่า มีปัญหาหนึ่งนั้นก็คือ ปัญหาจากโรงเรียนเป็นตัวผลักดันให้ออกมาเร่ร่อนด้วย โดยเด็กกล่าวว่า บางครั้งถูกครูลงโทษโดยไม่มีเหตุผล ถูกทำให้ได้รับความอับอายที่โรงเรียน ถูกประณามว่าเป็นเด็กไม่ดี เป็นคนเลว ทำให้เด็กต้องการเป็นคนเลวไปจริงๆ ไม่สมควรที่จะเรียนหนังสือ หรืออยู่บ้านอีกต่อไป จึงเป็นเหตุให้เด็กหนีออกมาเร่ร่อน

สาเหตุรองลงมาอาจมีสาเหตุดังนี้

1. สาเหตุทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ครอบครัวยากจน เด็กต้องช่วยผู้ปกครองประกอบอาชีพ

2. สาเหตุทางครอบครัว ได้แก่ ครอบครัวหย่าร้างแตกแยก ครอบครัวเด็กกำพร้า เด็กต้องไปอาศัยอยู่กับผู้อื่น

3. สาเหตุทางสังคม ได้แก่ กรณีเด็กอยู่คนเดียว เด็กถูกเฆี่ยนตี เด็กได้รับความกดดัน เด็กเร่ร่อน เด็กไปอาศัยอยู่กับเพื่อนรวมกลุ่มเป็นอันธพาล เด็กติดเกม ติดยาเสพติด หรือ มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและตั้งครรภ์

สาเหตุจากปัญหาทางสังคมอีกประการหนึ่งคือ ค่านิยม แบบอย่างที่ไม่ดีในสังคม ทำให้ผู้ปกครองมองไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา เด็กจึงไม่เห็นความสำคัญที่จะเข้าเรียนด้วย

4. สาเหตุจากสัญชาติ หรือทะเบียนราษฎร์ เช่น เด็กต่างชาติอพยพเข้ามาทางชายแดน ชายขอบ หรือเด็กสองสัญชาติในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงเด็กตกสำรวจไม่มีเลข 13 หลัก ซึ่งบางโรงเรียนก็ไม่รับเข้าเรียน

5. สาเหตุจากสภาพแวดล้อม ซึ่งมีแหล่งอบายมุข เด็กเห็นการเล่นการพนัน หรือการเสพสารเสพติดเป็นเรื่องธรรมดา

6. สาเหตุจากทางโรงเรียนที่มีระบบการผลักดันให้เด็กออกจากโรงเรียนโดยไม่รู้ ตัว เช่น การเข้มงวด ดุด่าประจานหน้าเสาธง ไม่ยืดหยุ่นผ่อนปรนในบางเรื่อง เช่น การแก้ 0 แก้ ร ไม่ทันเวลา

7. สาเหตุจากตัวเด็กเอง คือ นิสัยเกียจคร้าน เบื่อโรงเรียน บางคนก้าวร้าวเข้ากับเพื่อนไม่ได้ บางคนมีปมด้อยทางร่างกายถูกเพื่อนล้อเลียน จึงไม่กล้าไปโรงเรียน

ผลกระทบต่อสังคม

1. ด้านการศึกษา

ซึ่งจะเรียกว่าเป็นวิกฤตการณ์ทางการศึกษาเพราะเด็กเร่ร่อนมีเป็นจำนวนมากจาก ซึ่งในข้อมูลประมาณ30,000คน เป็นเด็กเร่ร่อนไม่ได้เข้าเรียนหนังสือหรือเรียนไม่จบการศึกษาภาคบังคับ ทำให้เด็กที่กลายเป็นเด็กเร่ร่อนนั้นไม่ได้รับการศึกษาอย่างดีเท่าที่ควร

2.ด้านสิทธิและเสรีภาพ

ปัญหาเด็กถูกละเมิดสิทธิ เด็กถูกทารุณ ถูกทำร้ายทางร่างกายและจิตใจ เด็กถูกละเมิดทางเพศ ซึ่งพบว่าเด็กที่ถูกกระทำจะมีอายุน้อยลง การละเมิดบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น

ปัญหาแรงงานเด็กพบว่าปัจจุบันมีเด็กถูกใช้แรงงานปัญหาโสเภณีเด็กซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งหญิงและชายจากการสำรวจข้อมูลผู้ให้บริการทางเพศทั่วประเทศพบว่ามีแนวโน้มว่าเด็กผู้ชายจะขายบริการทางเพศเพิ่ม ขึ้น

ปัญหาที่น่าวิตกไม่แพ้กันคือปัญหาเด็กกำพร้าและเด็กถูกทอดทิ้งจำนวนสูง ถึง 1.4 แสนคน หรือค่าเฉลี่ยของเด็กถูกทอดทิ้งต่อวันคือวันละ 5 คน

3. ด้านสังคม

การใช้ยาเสพติด เด็กเร่ร่อนส่วนใหญ่มีประสบการณ์การใช้ยาเสพติด ทั้งกาว ยาบ้า กัญชา หรือ แม้กระทั่ง เฮโรอีน มาก่อนที่จะทำอาชีพนี้ ทั้งโดยเพื่อนชักชวน และ ความอยากลองของตนเอง ทั้งๆที่เด็กทราบถึงผลร้ายของสารเสพติดเป็นอย่างดี

การลักขโมย ปัญหาอาชญากรรม ซึ่งเด็กเร่ร่อนเหล่านี้ก็ต้องการอาหารซึ่งกลายมาเป็นปัจจัยมาสู่การเป็นขโมยได้

หน่วยงานภาครัฐที่ทำงานด้านเด็กเร่ร่อน

(1) สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร ที่เริ่มช่วยเหลือตั้งแต่ปี 2534 และในปัจจุบันได้เปลี่ยนรูปแบบการช่วยเหลือเป็น ศูนย์สร้างโอกาส มีทั้งหมด 7 แห่งด้วยกัน ศุนย์สร้างโอกาสเด็กจตุจักร สวนลุมพินี พระราม9 ทุ่งครุ สวนพฤกษชาติคลองจั่น พระปกเกล้า พระราม8

(2)สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันนี้ ตามเกิดขึ้นในจังหวัดใหญ่ จำนวน 18 จังหวัดด้วยกัน สำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร 1 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตปทุมวัน กศน.นครปฐม,สระบุรี,สมุทรปราการ,ชลบุรี,นครราขสีมา,ขอนแก่น,อุดรธานี ลอุบลราชธานี,หนองบัวลำภู,เชียงราย,เชียงใหม่,สุราษฎธานี,ลำพูน, สงขลา,ยะลา,ภูเก็ต,นครศรธรรมราช เป็นต้น

(3)กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สำคัญมาก โดยเพาะภาระกิจในส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้แก่เทศบาล และเทศบาลนคร ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 32 จังหวัดที่ดำเนินการอยู่ แต่ต้องปรับกระบวนการการให้ความสำคัญ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง

(4) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุย์ที่มีบ้านพักเด็กและครอบครัวสถานสงเคราะห์ที่สามารถรองรับเด็กได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพ.ศ. 2546

(5)สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เริ่มตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งเริ่มจาก 26 โรงพักในนครบาล ปัจุบันที่ยังทำอยู่คือ สน.บางซื่อและยังมีโครงการตำรวจครูข้างถนนของตำรวจรถไฟ เป็นต้น

หน่วยงานภาครัฐส่วนมากจะมีบางหน่วยงานที่เป็นครูข้างถนน บางหน่วยงานมีบ้านพัก แต่สิ่งที่เกิดขึ้น คือการเชื่อมประสานส่งต่อกัน
แนวทางการแก้ไขปัญหา
เนื่องจากปํญหาเด็กเร่ร่อนเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งของสังคม ซึ่งเกิดมาจากหลายๆสาเหตุแต่สาเหตุใหญ่ๆที่เรารู้จักกันดีนั้นคือ เริ่มมาจากจุดเล็กๆในสังคมที่เรียกว่าครอบครัว ทั้งปัญหาครอบครัวแตกแยก ปัญหาเด็กกำพร้า ซึ่งโยงใยด้วยเหตุผลหลายๆประการ ทั้งจากการว่างงานของผู้นำในครอบครัว จากปัญหาเศรษฐกิจที่มักไม่คงที่คงตัว และปัญหาสังคมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถ้าหากเราจะร่วมมือกันแก้ปัญหาเด็กเร่ร่อนนี้ เราต้องเริ่มจากการมีครอบครัวที่ดีเสียก่อน เราต้องสร้างสัมพัธภาพที่ดีในครอบครัว สมาชิกในครอบครัวต้องใส่ใจ รัก และดูแลซึ่งกันและกัน แม้บางครอบครัวจะขาดพ่อหรือแม่ไปคนใดคนหนึ่ง แต่หากบุคคลที่เหลืออยุให้ความรักความอบอุ่น เป็นได้ทั้งพ่อและแม่ให้แก่ลูกนั้น ปัญหาเด็กเร่ร่อนนี้ก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นมาในสังคมได้เลย
อ้างอิงจาก

http://www.nidambe11.net/ekonomiz/…/2006november05p1.htm

http://www.sarakadee.com/feature/2000/07/homeless_children.htm

http://www.oknation.net/blog/wachira89/2009/07/03/entry-1

ปัญหาครอบครัวในสังคมไทย

ข้อมูลข่าวสาร

ครอบครัวคือ ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนทางสายโลหิต และการแต่งงาน อันวัฒนธรรมการจัดระบบครอบครัวและเครือญาติของสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการกำหนดวิถีชีวิตของชุมชน จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความซับซ้อนและเป็นไปอย่างเร็ว ปัจจุบันโครงสร้างและรูปแบบของครอบครัวซึ่งเคยเป็นครอบครัวขยายกลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ขนาดของครอบครัวเริ่มเล็กลง ครอบครัวไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม สถาบันครอบครัวซึ่งเคยเป็นทุนทางสังคม มีระบบเครือญาติที่มีความผูกพันอย่างใกล้ชิด มีความเกื้อกูล เอื้ออาทร และการอบรม ขัดเกลาบุตรหลาน การปลูกฝังวัฒนธรรมและค่านิยมประเพณี กลับอ่อนแอลง ซึ่งมีผลต่อปฏิสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกครอบครัวทั้งทางลบและทางบวก

ครอบครัวที่เคยเหนียวแน่นในอดีตปัจจุบันเริ่มเปราะบางลง มีปัญหามากมายตามมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการอย่าร้าง การทอดทิ้งผู้สูงอายุ การทำแท้ง และอื่นๆอีกมากมายหรือกระทั้ง ความรุนแรงในครอบครัวที่ไม่น่าเชื่อว่าคนที่มีความผูกพันฉันสามีภริยา หรือคนที่มีสายโลหิตเดียวกันแล้วจะมีปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นได้ สังเกตได้จากกฎหมายซึ่งเป็นตัวรองรับเพื่อป้องกัน แก้ไขและปรามให้สังคมมีความสงบสุข อันจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันตามยุคสมัยนั้นๆ ซี่งกฎหมายครอบครัวในปัจจุบันนั้น มีลักษณะเป็นกฎหมายตั้งรับ ที่ครอบคลุมเรื่องของหมั้น การสมรส การหย่า ทรัพย์สินระหว่างสามี-ภรรยา บุตรนอกสมรส บุตรบุญธรรม และมรดก ของครอบครัวในทุกระดับสิ่งเหล่านี้เราปฏิเสธไม่ได้ว่าถูกเขียนขึ้นเพื่อรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในครอบครัวทั้งสิ้น

ทั้งนี้เห็นได้ว่าปัญหาครอบครัวนั้นมีสาเหตุมาจากคนในครอบครัวเอง เป็นสำคัญ

การที่ไม่อาจปรับตัวให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้ครอบครัวไม่อาจทำ หน้าที่ บทบาทของตนได้อย่างสมบูรณ์ เกิดความห่างเหินของคนในครอบครัว ไม่มีเวลาพูดคุยปรึกษาหารือกัน ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน เกิดปัญหาการอย่าร้าง การทอดทิ้ง เสี่ยงต่อการที่บุตรประพฤติในทางไม่เหมาะสมตามมา

และสาเหตุหนึ่งที่สำคัญและพบมากขึ้นในสังคมไทยปัญหาครอบครัวที่เกิดจากความไม่พร้อม คือความไม่พร้อมที่จะมีครอบครัว ไม่ว่าจะด้วยวุฒิภาวะและอายุ ที่จะเป็นพ่อและแม่ได้อย่างสมบูรณ์ หากแต่เกิดจากการรักใคร่ในวัยหนุ่มสาว จนพลาดพลั้งตั้งครรภ์และมีบุตร เช่นนี้ทำให้เกิดการลองผิดลองถูกในการดำเนินกลุ่มชีวิตที่เรียกว่า ครอบครัว ด้วยวุฒิภาวะแล้วการที่จะอดทน และดูแลบุคคลอื่นภายในครอบครัว แบกรับภาระอันใหญ่หลวงของคำว่าพ่อและแม่จึงยากนักสำหรับพวกเค้า

อนึ่งความสำคัญของการมีครอบครัวที่สมบูรณ์ และจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมได้นั้น สิ่งสำคัญที่จะป้องกันและปกป้องครอบครัวได้นั้นก็คือ การวางแผนการมีครอบครัว เราควรมีการวางแผนชีวิตครอบครัว ไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีครอบครัว อาทิ ตั้งเป้าหมายว่าจะแต่งงานตอนอายุเท่าไหร่ มีบุตรกี่คน มีในช่วงเวลาไหนจะเหมาะสม อายุควรห่างกันเท่าไหร่ ฯลฯ เช่นนี้ก็จะช่วยในเรื่องของเศรษฐกิจในครอบครัวได้เป็นอย่าดีทำให้เรารู้ว่าจะต้องใช่จ่ายในครอบครัวยังไง ทำให้มีเวลาดูแลบุตร และทำหน้าที่ของตนในครอบครัวได้ออย่างสมบูรณ์

นอกจากนี้แล้วภาครัฐมีส่วนสำคัญยิ่งในการช่วย สนับสนุน มีนโยบายเสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวให้มากขึ้น สนับสนุนให้คนในครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกัน การพูดคุย ปรับความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้รักยาวนานและความผูกพันของครอบครัวแน่นแฟ้นขึ้น ครอบครัวแม้จะเป็นหน่วยเล็กที่สุดของสังคมแต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของสังคมขนาดใหญ่ และถือได้ว่าเป็นสายป่านสำคัญของสังคมไทย ปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัวจะเป็นห่วงโซ่ส่งผลต่อสังคมที่รัฐจะละเลยเสียไม่ได้

ที่มา: http://www.oknation.net

เด็กเร่ร่อนในสังคมไทย

ข้อมูลข่าวสาร

การพัฒนาประเทศไทยโดยเน้นระบบทุนนิยมเป็นกระแสหลักส่งผลกระทบต่อสังคม โดยเฉพาะสถาบันครอบครัว อันเป็นสถาบันที่เล็กที่สุดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พ่อแม่ต้องดิ้นรนแสวงหาปัจจัยในการดำรงชีวิตเพื่อให้อยู่รอดในสังคม และก้าวให้ทันกับระบบบริโภคนิยมที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ

การที่ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ลูก หรือการมีปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาจนเกิดปัญหาหย่าร้าง ทำให้เด็กไม่ต้องการที่จะอยู่บ้าน จึงออกมาใช้ชีวิตเร่ร่อนในที่สุด

ด้วยเหตุนี้เอง “มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก” ร่วมกับ “มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ” (มสช.) จึงจัดเวทีนโยบายสาธารณะเรื่อง “ปลดล็อกระบบดูแล : สู่การแก้ไขปัญหาเด็กเร่ร่อนที่ยั่งยืน” มีเจ้าหน้าที่บ้านแรกรับ บ้านพัฒนาเด็ก สถานสงเคราะห์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกว่า 150 คน เพื่อระดมสมองหาทางออกในปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ที่ผ่านมา

นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ กรรมการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์เด็กเร่รอนไทยมีประมาณ 3 หมื่นคน กระจายตัวอาศัยหลับนอนตามที่สาธารณะ ถือเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงต่อสภาพบ้านเมืองเราซึ่งถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์

ปัญหาเหล่านี้เกิดจากกลไกของสังคมที่ไม่พร้อมและปัญหาครอบครัวที่ไม่มีทางออกให้แก่พวกเขา และที่สำคัญยังไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 52 ที่กำหนดให้เด็กและเยาวชนมีสิทธิอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านจิตใจ สติปัญญา ต้องปราศจากความรุนแรง และต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม รวมทั้งการได้รับการศึกษา โดยได้รับการคุ้มครองจากรัฐ ซึ่งในความเป็นจริงปัจจุบันนั้น เรื่องดังกล่าวยังไม่ได้รับการปฏิบัติให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ

กรรมการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติกล่าวว่า หากเรายังไม่แก้ไขสถานการณ์นี้โดยเร็ว ใน 3 ปีข้างหน้า ไทยจะเข้ามาร่วมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ก็จะทำให้สถานการณ์เด็กเร่รอนเพิ่มขึ้น เพราะจะมีคนต่างด้าวเข้ามาในเมืองไทยจำนวนมากเพื่อใช้แรงงาน ซึ่งจะต้องเอาลูกหลานเข้ามาด้วย ปัญหาที่ตามมาคือ ยาเสพติด ค้าประเวณี ไปจนถึงอาชญากรรม

นพ.ชูชัยบอกว่า งานสัมมนาครั้งนี้จะเป็นการระดมตัวแทนผู้เกี่ยวข้องมาร่วมกันหาทางออก พร้อมทั้งบอกถึงจุดบกพร่องให้แก่ฝ่ายปฏิบัติงานที่รัฐบาลต้องเข้ามาช่วยเหลือ เพราะเขาอาจไม่รู้หรือไม่ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะกลไกช่วยเหลือเด็ก คือ “ครูข้างถนน” ที่ลงไปช่วยเด็กตามพื้นที่สาธารณะ และดึงเด็กข้างถนนกลับคืนสู่สังคม กลับเข้ามาที่บ้านแรกรับ และฟื้นฟูเยียวยาร่างกายและจิตใจ และบ้านพัฒนา เพื่อขัดเกลาเด็กให้กลับมาสู่สังคมได้

“ขณะนี้รับทราบว่า กทม. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ว่าจ้างครูข้างถนนให้มีตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว เงินเดือนน้อย และมีข่าวว่าองค์กรต้นสังกัดกำลังจะลดจำนวนครูข้างถนนและงบประมาณลง ทั้งที่บุคลากรดังกล่าวมีบทบาทในการช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนเป็นอย่างมาก” นพ.ชูชัยกล่าว และว่า

จึงเป็นเรื่องที่ต้องชี้แจงข้อเท็จจริงให้หน่วยงานรับทราบ เพราะทุกวันนี้ชีวิตความเป็นอยู่ก็ลำบาก บางครั้งต้องเอาเงินเดือนอันน้อยนิดแบ่งให้เด็กเร่ร่อนด้วย บางครั้งการใช้เวลาช่วยเด็กสักคนให้กลับมาคืนสู่สังคมต้องใช้เวลานานถึง 8 เดือน ขณะที่งบประมาณก็ไม่ค่อยมี ดังนั้นการสนับสนุนของภาครัฐจะเป็นส่วนสำคัญที่จะแก้ปัญหาเด็กเร่ร่อนให้หมดไปผ่านองค์กรของรัฐ ผ่านกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และองค์กรพัฒนาเอกชน ที่จะสามารถทำงานเชื่อมโยงได้อย่างดี

“องค์กรของเอกชนต้องยอมรับว่าเขามีความคล่องตัวและทำงานรวดเร็วในการแก้ปัญหา และมีจิตอาสาเข้ามาเป็นอาสาสมัครจำนวนมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมควรยกย่อง แต่การทำงานให้บรรลุผลสำเร็จจำเป็นจะต้องมีงบประมาณช่วยเหลือ การจัดงานครั้งนี้จึงต้องการยกระดับเรื่องเด็กเร่ร่อนให้เป็นประเด็นทางสังคมที่ทุกคนจะต้องช่วยกัน” นพ.ชูชัยกล่าว และว่า

หลังจากนี้จะมีโครงการศึกษาแนวทางการบูรณาการทำงานระดับจังหวัด เพื่อให้สามารถดูแลเด็กเร่ร่อนในชนบทไม่ให้เข้าสู่เมืองใหญ่ เน้นการกระจายอำนาจไปสู่ภูมิภาค ซึ่งเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในมาตรา 281 และ 283 ว่ารัฐต้องสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทำงานอย่างเป็นอิสระ

โดย อปท.จะเป็นหน่วยงานหลักการจัดทำบริการสาธารณะ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในพื้นที่เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในงานนี้ น.ส.ทองพูล บัวศรี หรือครูจิ๋ว จากมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ได้นำเสนองานวิจัยเรื่อง “การถอดบทเรียนบ้านแรกรับและบ้านพัฒนาสำหรับเด็กเร่ร่อน” ที่มูลนิธิดำเนินการร่วมกับ มสช. เก็บข้อมูลจากบ้านแรกรับ บ้านพัฒนาเด็ก และสถานสงเคราะห์ จำนวน 22 แห่ง ใน 12 จังหวัด และพบว่าทุกแห่งต้องการการสนับสนุนทั้งงบประมาณ บุคลากร และองค์ความรู้ โดยเฉพาะบ้านแรกรับและบ้านพัฒนาเด็กที่ดำเนินการโดยองค์กรพัฒนาเอกชน ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด โดยได้รับงบจากการบริจาค ซึ่งไม่แน่นอนและไม่ยั่งยืน กระทบต่อการดูแลช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนในภาพรวม ดังนั้นจึงอยากให้มีหน่วยงานของรัฐจัดงบสนับสนุน

“ปัจจุบันมีบ้านแรกรับ บ้านพัฒนาเด็ก และสถานสงเคราะห์ทั่วประเทศกว่า 40 แห่ง เป็นของรัฐ 17 แห่ง ที่เหลืออีก 23 แห่งเป็นขององค์กรพัฒนาเอกชน ขณะนี้มี 6 แห่งที่สถานการณ์ทางการเงินวิกฤติ และมีแนวโน้มต้องยุติการดำเนินงานหากไม่ได้รับการสนับสนุนงบอย่างเพียงพอ ได้แก่ มูลนิธิอาสาพัฒนาเด็กดูแลเด็ก 140 คน มูลนิธิช่วยเหลือเด็กขอนแก่น 50 คน บ้านนานา มูลนิธิพันธกิจเพื่อเด็กและชุมชน 120 คน มูลนิธิบ้านนกขมิ้น 220 คน บ้านครูจา พัทยา 35 คน และสถานบ้านรับเลี้ยงเด็กบ้านครูมุ้ย สมุทรปราการ 20-30 คน

แม้จะนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ แต่ปัจจุบันต้องเผชิญทั้งปัญหาเศรษฐกิจและเพิ่งผ่านเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ ส่งผลให้เงินบริจาคลดลงถึง 50% ทำให้บ้านเล็กๆ หรือเพิ่งเริ่มดำเนินการไม่มีเงินสำรอง อาจต้องหยุดการดำเนินงาน ซึ่งจะส่งผลให้เด็กกว่า 600 คนไร้ที่พักพิง” น.ส.ทองพูลกล่าว

น.ส.ทองพูลกล่าวว่า อยากให้กองทุนคุ้มครองเด็ก กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่มีเงินกว่า 100 ล้านบาท สนับสนุนงบดำเนินการแบบถาวร โดยค่าใช้จ่ายรายหัวขั้นต่ำที่เหมาะสมอยู่ที่ 73-83 บาท/คน/วัน หรือ 27,000-37,000 บาท/คน/ปี ซึ่งจะใช้งบประมาณ 20-40 ล้านบาท/ปี ทั้งนี้ บ้านแรกรับและบ้านพัฒนาเด็กขององค์กรพัฒนาเอกชนจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดนำเสนอต่อกองทุนคุ้มครองเด็กเพื่อพิจารณาต่อไป

ด้านนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก กล่าวว่า บ้านแรกรับเป็นบ้านหลังที่สองที่รองรับเด็กที่มีปัญหา ช่วยพัฒนาเด็กให้สามารถพึ่งตนเองได้ ดังนั้นงบประมาณจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะบ้านแรกรับที่กระจายอยู่ทั่วประเทศต้องดูแลเด็กทั้งชีวิต

การเสนอให้นำงบจากกองทุนฯ มาสนับสนุนเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ดำเนินการได้ แต่จะต้องครอบคลุมและถึงตัวเด็กจริงๆ ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายรายหัวที่นำเสนอนั้น หากครอบคลุมการดำเนินการในทุกด้าน ทั้งตัวเด็กและบุคลากรที่ดูแล ก็ถือว่าถูกมากกับการลงทุนเรื่องมนุษย์

รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สถานการณ์เด็กเร่ร่อนกำลังขยายตัวแบบเงียบๆ ทั้งในเชิงปริมาณและปัญหา ตลอดจนจำนวนเด็กที่มาจากหลายที่ทั้งในและต่างประเทศ พบว่าเด็กจากต่างชาติทั้งพม่า กัมพูชา และลาว เข้ามาเป็นขอทานและถูกใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง เพราะเรายังมองเห็นปัญหากันเพียงแค่มิติเดียว ทั้งที่มีหลายมิติและซับซ้อนในเชิงปัญหาที่กำลังจะขยายตัวมากขึ้น

ดังนั้นรัฐบาลควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องนโยบาย งบประมาณ และการทำงานในลักษณะเครือข่าย เพื่อให้เด็กกลุ่มนี้กลับคืนสู่สังคมได้อย่างสมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่ดีที่มีการสำรวจเชิงปริมาณและคำนวณค่าใช้จ่ายรายหัว ซึ่งน่าจะทำให้การดูแลเด็กเร่ร่อนมีความชัดเจนมากขึ้น

นี่เป็นบางส่วนของความพยายามของคนทำงานกับเด็กเร่ร่อนที่พยายามสะท้อนออกมาให้สังคมและฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงอย่างภาครัฐได้รับรู้กัน

หวังว่าเสียงสะท้อนจากฝ่ายปฏิบัติงานนี้จะดังไปถึงภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ก่อนสถานการณ์จะบานปลายยากที่จะแก้ไข โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยต้องเข้าร่วมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

นี่คืออีกหนึ่งความจริง ที่แม้จะรันทด แต่เราก็มิอาจปฏิเสธได้.
ที่มา: ศูนย์ปฎิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์มูลนิธิกระจกเงา

เปิดแผนยุทศาสตร์หยุดปัญหาเด็กเร่ร่อน

หมายเหตุ – รายงานสถานการณ์เด็กเร่ร่อน โครงการวิจัยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาเด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาส 3 ปี (พ.ศ.2550-2552) จากรายได้ส่วนเกินของการออกสลากเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว จัดทำโดยนายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ บัดนี้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว และจะนำเสนอรัฐบาลชุดต่อไปเพื่อพิจารณาประกอบการกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาสังคม “มติชน” เห็นว่าน่าสนใจ จึงนำเสนอดังนี้

การวิจัย

การศึกษาวิจัยเด็กเร่ร่อนนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ ศึกษาสถานการณ์และปัญหาเด็กเร่ร่อน ในประเด็นสภาพแวดล้อมและโครงสร้างทางสังคมที่ทำให้เกิดปัญหาเด็ก รวมทั้งทบทวนการดำเนินงานของหน่วยงานและองค์กรที่ดำเนินงานด้านนี้ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาเด็กเร่ร่อน 3 ปี (พ.ศ.2550-2552) เพื่อจัดทำเป็นกรอบแนวทางในการสนับสนุนการดำเนินงานเชิงรุกเข้าหาตัวเด็ก และการหาข้อเสนอแนะด้านโครงสร้าง และระบบและกลไกการบริหารจัดการที่ยั่งยืน สรุปผลการวิจัยได้ดังต่อไปนี้

สรุปผลการวิจัย

1.จำนวนเด็กเร่ร่อนในประเทศไทยมีการประมาณการอยู่ที่ 20,000 คน และในอีก 3 ปีข้างหน้าจะมีถึง 30,000 คน ในขณะที่องค์กรของภาครัฐบาลและองค์กรเอกชนได้ดำเนินการเข้าช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนอย่างต่อเนื่องมีประมาณ 5,000 คน ดังนั้น ยังคงมีเด็กเร่ร่อนนอกระบบจำนวนมากในหลายพื้นที่ที่ต้องรีบดำเนินการในรูปของการคุ้มครองปกป้อง สงเคราะห์ เยียวยา และบำบัดรักษาอีกเกือบ 15,000-20,000 คน

2.เด็กเร่ร่อนในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากสาเหตุของโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมมหภาคเปลี่ยนไป เกิดปัญหาการสร้างความไม่เป็นธรรมในสังคม การกระจายรายได้ที่แตกต่างกัน เกิดการขยายตัวตามเมืองใหญ่ๆ ประชาชนละทิ้งถิ่นฐานอพยพเข้าสู่ตัวเมืองในสภาพที่ไม่พร้อม ขัดสนยากจน ต้องอาศัยอยู่ในชุมชนแออัด สองข้างทางรถไฟ บุกรุกที่สาธารณะ ที่ดินว่างเปล่า ความเจริญทางด้านวัตถุ หมู่บ้านจัดสรร เมืองขยายใหญ่อย่างรวดเร็ว ผลักไสไล่รื้อให้ชุมชนแออัดผิดส่วน ต้องอพยพมาอยู่ชานเมืองรอบนอกเกิดเป็นชุมชนแออัดขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปตามขอบเมือง จนนำไปสู่ปัญหาการเกิดเด็กเร่ร่อนจำนวนมาก ในขณะเดียวกันชุมชนแออัดขนาดใหญ่ดั้งเดิมหลายบริเวณที่อยู่ใกล้สี่แยกไฟแดง ใต้สะพาน บริเวณสวนสาธารณะ อนุสาวรีย์ ห้างสรรพสินค้า ตลาดสด สะพานลอย สถานีรถไฟขนาดใหญ่ บริเวณสถานีขนส่งรถยนต์และอื่นๆ ยังเป็นจุดศูนย์กลางของเด็กเร่ร่อน ขนาดและจำนวนใหญ่เล็กแตกต่างกันไป เด็กยังคงดำเนินชีวิตด้วยการขอทาน เช็ดกระจกรถ ขายดอกไม้ตามสี่แยกไฟแดง รับจ้างทำงานเล็กๆ น้อยๆ แขวนพวงมาลัย ใช้กำลังและความรุนแรงตบทรัพย์เด็กที่อ่อนแอกว่า ในระดับจุลภาค ระบบครอบครัวไทยเกิดขึ้นบนความไม่พร้อม มีสภาพเปราะบาง เกิดความรุนแรงในการอยู่ร่วมกัน แตกแยกกันง่าย นำไปสู่การสร้างครอบครัวใหม่ที่เกิดสภาพพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงลูกเลี้ยง สัมพันธภาพของคนในครอบครัวห่างเหิน ขาดความรัก

3.ค่าใช้จ่ายรายหัวต่อเด็กเร่ร่อน 1 คนใน 1 ปี ที่ส่งกลับเข้าศึกษาต่อในระบบโรงเรียนประเภทต่างๆ อยู่ที่ประมาณ 30,000 บาท โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายเงินเดือนและสวัสดิการของบุคลากรที่แตกต่างกันไปตามแต่ละหน่วยงานและองค์กรที่สังกัด องค์กรหน่วยงานมีประมาณ 40-50 แห่ง ได้รับงบประมาณดำเนินการแต่ละปีในวงเงินประมาณ 180,000 บาท ซึ่งไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่เป็นองค์กรขนาดเล็กเฉลี่ยมีบุคลากร 2-4 คน การดำเนินงานขององค์กรในระดับภูมิภาคค่อนข้างประสบปัญหาขาดแคลนงบฯ บุคลากร และทรัพยากรต่างๆ องค์กรเอกชนส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงแหล่งงบประมาณของรัฐ เขียนโครงการไม่เป็น รู้แหล่งทุนจากที่ต่างๆ ค่อนข้างน้อย แต่ต้องทำงานภาคสนามเพิ่มขึ้น

4.เส้นทางของเด็กเร่ร่อนจะค่อยๆ เคลื่อนตัวเข้ามารวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพฯ โดยมีจุดพักอยู่ตามเมืองใหญ่ๆ ในแต่ละภูมิภาค ดังเช่นภาคเหนือ เด็กเร่ร่อนจำนวนมากมาจากเด็กชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ข้ามฝั่งชายแดนแม่สายบริเวณจังหวัดเชียงรายและจังหวัดอื่นๆ มีขบวนการค้ามนุษย์ซื้อเด็กราคาถูกเข้ามาเลี้ยงให้เติบโตเพื่อนำสู่การเป็นขอทานและแรงงานเด็กในตัวจังหวัดเชียงใหม่ ต่อไปที่ลำปางและท้ายสุดมาอยู่รวมกันที่กรุงเทพฯ ในภาคตะวันออกบริเวณพรมแดนไทย-กัมพูชา ในจังหวัดสระแก้วเด็กยากจนและเด็กเร่ร่อนจะอยู่บริเวณชายแดนเป็นจำนวนมากในรูปของเด็กเร่ร่อน ยากจน ขอทาน และแรงงานเด็กข้ามชาติ เด็กบางคนถูกนายหน้าซื้อจากพ่อแม่และส่งต่อเข้าสู่ตัวเมืองจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร และกรุงเทพฯ เกิดรูปแบบของวงจรเด็กขอทานและแรงงานเด็กที่มีการจัดส่งอย่างเป็นระบบ สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเกิดเด็กเร่ร่อนเกือบทุกจังหวัดและบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาวที่มีเด็กเร่ร่อนหนีเข้ามาในบริเวณจังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น อุบลราชธานี และศูนย์พักรวมอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา ก่อนเคลื่อนย้ายเข้าสู่กรุงเทพฯ

5.การดำเนินการขององค์กรภาคราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเด็กเร่ร่อนยังมีปัญหาและข้อจำกัดอยู่มากมาย นับตั้งแต่ ระบบฐานข้อมูล จำนวนตัวเลขเด็กเร่ร่อนไม่สะท้อนความเป็นจริงในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นที่จังหวัดสระแก้ว นครราชสีมา เชียงราย กรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ ข้อมูลเด็กเร่ร่อนมักไม่ปรากฏจำนวน ขาดหลักฐานและการสำรวจอย่างจริงจัง หลายจังหวัดมีปัญหามากแต่ปรากฏมีจำนวนน้อยกว่าที่ควรจะเป็นหรือไม่มีเลย ทำให้สถานการณ์และปัญหาเด็กเร่ร่อนคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง จนยากแก่การกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ให้ตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้น ในหลายพื้นที่หน่วยงานระดับจังหวัดได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวนมากตามนโยบายรัฐบาล แต่ประสิทธิภาพต่ำ เป็นระบบเงินงบประมาณที่ยึดกรอบระบบราชการมากกว่าตัวเด็ก นอกจากนั้นนโยบายเด็กเร่ร่อนในเชิงบูรณาการระดับนโยบายส่วนกลางยังมีลักษณะการดำเนินงานแยกสังกัดกันอยู่ การประสานงานระดับผู้ปฏิบัติการกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับองค์กรเอกชนบางระดับยังมีข้อจำกัดอยู่มาก เจ้าหน้าที่บางส่วนยังมีวัฒนธรรมการทำงานแบบราชการ ตั้งรับ ติดกรอบกฎเกณฑ์ระเบียบขั้นตอน ขาดจิตสำนึกเพื่อเด็กโดยตรง

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย

1.การดำเนินการช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนรัฐบาลและกลไกราชการควรดำเนินการผ่านเครือข่ายเด็กเร่ร่อนที่มีรูปแบบของการทำงานเชิงบูรณาการระหว่างรัฐและองค์กรเอกชนในรูปของการกำหนดนโยบาย การสนับสนุนแหล่งทุน การประสานงาน ประชุมปรึกษาหารือ การถอดบทเรียนและอื่นๆ เครือข่ายเด็กเร่ร่อนจะได้ขยายงานลงไปกลุ่มพื้นที่ จังหวัด และเด็กเร่ร่อนกลุ่มเสี่ยงมากให้ครอบคลุมทั่วประเทศด้วย

2.การจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์เด็กเร่ร่อนนั้นมีความจำเป็นมิใช่จำกัดเฉพาะเด็กเร่ร่อนภายในประเทศเท่านั้น แต่ต้องมีการประสานกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา พม่า ลาว ให้เกิดการเรียนรู้และตระหนักถึงปัญหาร่วมภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงถึงภยันตรายของขบวนการค้ามนุษย์ เด็กขอทาน แรงงานเด็ก เด็กเร่ร่อน โสเภณีข้ามชาติ และอื่นๆ

3.การศึกษาและงานวิจัยเชิงสิทธิเด็ก ในสถานภาพของเด็กเร่ร่อน 4 ด้าน คือ สิทธิของการอยู่รอด สิทธิของการได้รับการคุ้มครอง สิทธิของการพัฒนา และสิทธิของการมีส่วนร่วม เพื่อหาความเป็นตัวตนและสิทธิที่เด็กเร่ร่อนพึงได้รับการบริการจากรัฐในรูปแบบต่างๆ

4.สภาพองค์กรเอกชนขนาดเล็กที่อยู่ในภูมิภาคขนาดเล็ก และมีข้อจำกัดด้านเงินทุนควรได้รับการช่วยเหลือ สนับสนุบงบประมาณอย่างเพียงพอ รวมถึงปัจจัยสี่ด้วย มิฉะนั้นบุคลากรภาคสนามจะไม่สามารถทำงานภาคสนามได้อย่างมีคุณภาพและจะหันไปประกอบวิชาชีพอื่น เด็กเร่ร่อนจะถูกปล่อยทิ้งไว้จนกลายเป็นปัญหาสังคมที่รุนแรงกว่าที่คิดไว้

5.การคิดคำนวณงบประมาณเพื่อช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนสามารถกำหนดได้ชัดเจนขึ้นภายใน 3 ปีข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเด็กเร่ร่อนที่มีการประมาณการ 30,000 คน ค่าใช้จ่ายรายหัว 30,000 บาทต่อคนต่อปี งบประมาณนี้ควรมีการตั้งขึ้นด้วยงบประมาณประจำปีให้ลงสู่ตัวเด็กเร่ร่อนโดยเฉพาะกลไกราชการผ่านกระทรวงต่างๆ ที่มีงบประมาณจำนวนมากแต่เป็นลักษณะแยกกันทำ เกิดประสิทธิภาพต่ำ กิจกรรมที่จัดไม่ตรงกับความต้องการและปัญหาของเด็กเร่ร่อน การทำงบประมาณต้องยึดเด็กเร่ร่อนเป็นสำคัญมิใช่ยึดระบบราชการดังแต่ก่อน

6.การถอดองค์ความรู้ นวัตกรรมภาคสนาม แนวคิดใหม่ๆ ต่อการแก้ไขปัญหาด้านเร่ร่อน ภายใต้สภาวะและเงื่อนไขต่างๆ ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา เพื่อเป็นหนังสือชุดนำเสนอในรูปแบบที่สั้น กะทัดรัด น่าสนใจ มีทางเลือกและทางออกสำหรับเด็กเร่ร่อนได้

7.การเตรียมการส่งเด็กกลับสู่ครอบครัวบางคน การคืนกลับสู่ชุมชนอย่างมีคุณภาพและการรับใช้ชุมชน การรับเด็กเข้าทำงานในภาคบริการ SMEs ธุรกิจอุตสาหกรรม แม้กระทั่งการเตรียมตัวเป็นผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม และอื่นๆ การเตรียมศูนย์การฝึกอบรม การทดลองงาน การหาทุนแรกเริ่ม การให้คำแนะนำ ล้วนเป็นก้าวสำคัญที่ต้องมีการคิดวางแผนการส่งต่อ เชื่อมโยงกันเป็นระบบจนเด็กเป็นสมาชิกในสังคมได้อย่างกลมกลืน

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

1. การทำวิจัยเด็กเร่ร่อนในกลุ่มที่แตกแยก การปฏิเสธครอบครัวชนชั้นกลาง ที่มักพบเด็กเร่ร่อนเทียมตามร้านเกม ห้างสรรพสินค้า หอพัก และคอนโดมิเนียมมากขึ้น เด็กกลุ่มนี้มีลักษณะเฉพาะ เช่น เบื่อระบบกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด ไม่ชอบการแข่งขันในระบบการศึกษา ปฏิเสธความอบอุ่นมากเกินไป และเบื่อความเหงา ต้องการเพื่อนที่รู้ใจ เป็นต้น

2. การศึกษาวิจัยเด็กเร่ร่อนหญิง วัฒนธรรมย่อย การเข้าไปมีส่วนร่วมในขบวนการค้าทางเพศ ยาเสพติด ความลึกลับของการดำรงอยู่ ความเป็นเพศหญิงของการอยู่รอดในวัฒนธรรมถนนและอื่นๆ

3. การศึกษาวิจัยเด็กเร่ร่อนชนกลุ่มน้อยบริเวณชายแดน ความไร้ตัวตน การถูกชักจูงเข้าไปอยู่ในขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ ความรังเกียจเชิงชาติพันธุ์ การถูกกระทำย่ำยี การฝังตัวอยู่บริเวณชายแดนระหว่างประเทศ เด็กชาวเขาไร้สัญชาติ เด็กเขมรยากจนขัดสน เด็กลาวผู้เคลื่อนย้ายไปตายเอาดาบหน้า ปัจจัยส่งเสริมผลักดันในประเทศดั้งเดิมคืออะไร ข้อมูลพื้นฐานสำคัญของเด็กที่ต้องการคืนสิทธิเด็กในการคุ้มครองจากรัฐมีการเคลื่อนไหวต่อสู้เรียกร้องในพื้นที่ห่างไกลมีอะไรบ้าง เด็กชาวต่างชาติและชนกลุ่มน้อยมีการศึกษาวิจัยน้อยมากจนน่าเป็นห่วง ทั้งที่เป็นปัญหาสำคัญและวิกฤตเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

4. การติดตามดูแลกลุ่มชาวต่างชาติที่นิยมหลับนอนกับเด็กเร่ร่อนบริเวณพัทยาใต้ จ.ชลบุรี กรุงเทพฯ บริเวณย่านพัฒน์พงษ์ ภูเก็ตบริเวณย่านหาดทราย บังกะโลและที่อื่นๆ การศึกษารายกรณีถึงสาเหตุแรงจูงใจ ความยากง่าย การย่อหย่อน การปล่อยปละละเลย การยึดถือการท่องเที่ยว รายได้ของประเทศมากกว่าชีวิตของเด็กที่เป็นเหยื่อ รวมทั้งการเป็นสมาคมชุมชนที่เข้ามาจับกลุ่มภายในประเทศไทย มีสถานที่ หมู่บ้าน โรงแรมที่พัก จนเป็นสถานที่รับรู้ในการซื้อขายหลับนอนกับเด็กเร่ร่อน ราคาถูก สะอาด ว่านอนสอนง่าย ในระบบนานาประเทศในขณะนี้

ที่มา:ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อการต้อต้านการค้ามนุษย์

ศูนย์พิทักษ์และคุ้มครองสิทธิเด็ก

กลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและทำหน้าที่เกี่ยวกับปํญหาเด็กเร่ร่อน

ภารกิจ

• ปกป้องคุ้มครองเด็กเร่ร่อนในกรุงเทพมหานคร จัดหาที่พักที่อบอุ่น ปลอดภัยให้กับเด็ก

• ช่วยเหลือเด็กในชุมชนแออัดจากการถูกกดขี่ ทารุณกรรม และจากสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมต่างๆ

• ป้องกันเด็กกลุ่มเสี่ยงมิให้ตกไปอยู่ในแวดวงของการค้ามนุษย์

• ให้ความช่วยเหลือ ปกป้อง คุ้มครองเด็กๆในด้านกฎหมายและสิทธิต่างๆ

ความเป็นมา

จากประสบการณ์การทำงาน มูลนิธิฯ พบเด็กในชุมชนแออัดจำนวนมากขาดที่พึ่ง และไร้ญาติ เด็กหลายคนถูกทอดทิ้ง ถูกทารุณกรรม ถูกทำร้าย ถูกละเมิดทางเพศ เด็กๆหนีออกจากบ้านมาใช้ชีวิตอิสสระและเร่ร่อน ที่สุดก็ถูกบีบบังคับให้เข้าไปอยู่ในแวดวงของอาชญากรรมและสิ่งเสพติด

อนาคตของเยาวชนจำนวนไม่น้อยดับมืดไปเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์และด้วยสาเหตุอันไม่สมควร ในปี พ.ศ. 2518 มูลนิธิฯ จึงเริ่มโครงการช่วยเหลือเด็กเร่ร่อน มีครูข้างถนนไปพบปะพูดคุยกับเด็กๆ ให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร สุขภาพ ยา และความจำเป็นเร่งด่วนเฉพาะหน้า เปิดบ้านพักเพื่อให้เด็กๆได้เข้าอยู่อาศัย อย่างน้อยเด็กๆก็สามารถพักค้างคืน เด็กที่พักอยู่ถาวร มูลนิธิฯ จัดหาเจ้าหน้าที่ประจำ ช่วยดูแลเด็กๆ และเป็นพี่เลี้ยงทดแทนพ่อแม่ที่แท้จริงของเขา ตลอดเวลาที่เด็กๆอาศัยอยู่กับเรา เขาจะได้ไปโรงเรียน มูลนิธิฯ ส่งเขาเล่าเรียนจนถึงระดับชั้นสูงสุดที่เขาสามารถเรียนได้ ในขณะเดียวกัน มูลนิธิฯก็ติดต่อ ประสานงานกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อแสวงหาครอบครัวและข้อมูลที่แท้จริงของเด็ก เพื่อช่วยให้เขามีเอกสารแสดงตนอย่างเป็นทางการ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 สถานเอกอัคราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย ได้มอบเงินทุนสำหรับมูลนิธิฯ ทำงานช่วยเหลือเด็กๆเพื่อปกป้องเขาจากขบวนการค้ามนุษย์ที่เริ่มจะมีความรุนแรงมากขึ้น ปี พ.ศ. 2542 มูลนิธิฯ เปิดศูนย์พิทักษ์และคุ้มครองสิทธิเด็ก

พื้นที่ดำเนินงาน

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณชุมชนแออัดคลองเตยและชุมชนแออัดอื่นๆ
งานคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน

1. ให้คำปรึกษา ช่วยวิเคราะห์ และให้คำแนะนำแก่เด็กและเยาวชน ครอบครัว และผู้ปกครอง เกี่ยวกับปัญหาทั่วไป

2. พิทักษ์ ปกป้องและคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน

3. จัดกิจกรรมพัฒนา ส่งเสริมให้ตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิ และร่วมพิทักษ์ ปกป้อง คุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน

4. ให้คำ ปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือทางด้านกฎหมายสำหรับผู้ยากไร้ ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม

5. เป็นศูนย์กลางประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและเอกชนในการปกป้อง พิทักษ์และคุ้มครอง ช่วยเหลือ หรือ ส่งต่อให้กับองค์กรที่เกี่ยวข้องในฐานะเครือข่าย

6. ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและเป็นศูนย์ไกล่เกลี่ยด้านคดีความ (นอกศาล)

งานช่วยเหลือเด็ก เยาวชน และเด็กเร่ร่อน

1. ช่วยเหลือเครื่องอุปโภค บริโภคแก่เด็ก

2. ประสานงานกับผู้นำเยาวชนเพื่อหาแนวทางการช่วยเหลือ

3. ให้คำปรึกษา แนะนำแก่เด็กเร่ร่อน ในการดำรงชีวิตประจำวัน

4. ให้คำปรึกษาและประสานงานให้เด็กไปพักอาศัยอยู่ในบ้านเปิด ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน

5. นำเด็กเร่ร่อนไปรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย

6. ประสานงานนำเด็กเร่ร่อนที่เคยออกจากโรงเรียนกลางคัน ให้สามารถกลับเข้าเรียนในระบบโรงเรียนหรือการศึกษานอกโรงเรียน

7. จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพให้แก่เด็กเร่ร่อน

8. ติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อประเมินสถานการณ์ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กและครอบครัวและชุมชน เพื่อช่วยให้เด็กกลับคืนสู่ครอบครัว หรือ ช่วยด้านเอกสารทางทะเบียนราษฎร์

งาน ป.วิ อาญ

ร่วมอยู่ในกระบวนการสอบสวน เพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชน ให้สามารถให้ปากคำตามความเป็นจริง

ให้คำปรึกษาแก่เด็ก เยาวชน และครอบครัว เกี่ยวกับแง่มุมต่างๆ เมื่อเด็ก หรือ เยาวชนต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

ช่วยเด็ก หรือเยาวชน ระหว่างการให้การในชั้นศาล และเป็นพี่เลี้ยง ช่วยเด็ก ในการร้องขอต่อศาล เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ช่วยเด็ก หรือเยาวชน ในกระบวนการไกล่เกลี่ย ตกลง ในข้อพิพาทต่างๆ
ที่มา:ศูนย์พิทักและคุ้มครองสิทธิเด็ก

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพ.ศ.2546

พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มีหลักการสำคัญคือ การระดมทรัพยากรทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมดูแล ปกป้อง คุ้มครองเด็กโดยอาศัยการดำเนินงานแบบสหวิชาชีพ เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก กฎหมายฉบับนี้ได้วางระบบการ สงเคราะห์คุ้มครอง สวัสดิภาพและการส่งเสริมความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาและส่งเสริมความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา และส่งเสริมหน้าที่ความรับผิดชอบของครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน ในการร่วมมือกันคุ้มครองเด็ก โดยไม่พึ่งทรัพยากรจากภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว

หัวใจของกฎหมายนี้อยู่ที่มาตรา 23 กล่าวคือ “ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนตามสม

ควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีและ วัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น แต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนมิให้ตก อยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ

พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546ไม่ใช่กฎหมายเพื่อลงโทษผู้ปกครอง แต่มีเจตนาสนับสนุนให้ผู้ปกครองเลี้ยงดูบุตร ได้โดยไม่ขัดต่อประเพณีปฏิบัติอันดีงามโดยรัฐพร้อมจะให้ความช่วยเหลือ แก่ครอบครัวเมื่อจำเป็น กฎหมายนี้จึง

เป็นเสมือนคู่มือสะท้อนให้ผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทหน้าที่และสิ่งอันควรปฏิบัติเพื่อสามารถเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตอย่างเต็ม ศักยภาพและปลอดภัย

เลี้ยงลูกผูกพัน ปฏิบัติถูกต้อง ได้อย่างไร

การเลี้ยงดูเด็กตามกฎหมายคุ้มครองเด็กไม่ใช่เรื่องยุ่งยากแต่อย่างใด ผู้ปกครองที่เลี้ยงดูเด็กได้ดี อยู่แล้วจึงไม่ควรกังวลว่าวิธีปฏิบัติของตนจะไม่สอดคล้องกับกฎหมาย โดยพื้นฐานที่สุด

วิธีการเลี้ยงดูเด็กซึ่งไม่ขัดต่อธรรมเนียมปฏิบัติ ศีลธรรมอันดีงามและเป็นที่ยอมรับในสังคม ย่อมไม่ขัดต่อกฎหมาย อย่างไรก็ตาม กฎหมายนี้จะมีมาตรฐานการเลี้ยงดูเด็กขั้นต่ำออกมา โดยมีหลักการดังนี้

ด้านกฎหมาย

เด็กต้องได้รับการจดทะเบียนเกิด มีผู้ปกครองตามกฎหมาย ต้องได้เรียนหนังสือภาคบังคับ
ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม

เด็กต้องอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนและสังคมนั้น

ด้านสภาวะของเด็ก

เด็กต้องได้รับการเลี้ยงดูให้มีสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงได้เรียนรู้ด้านจริยธรรม

ด้านผู้ดูแลเด็ก

ต้องเป็นผู้มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพของเด็ก ป้องกันโรค กระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ฝึกวินัย ฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมตัวเอง รู้จักขอบเขตระหว่างตนเองและผู้อื่น

ข้อห้ามปฏิบัติของผู้ปกครอง

1. ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานพยาบาลหรือไว้กับบุคคลที่รับจ้างเลี้ยงเด็กหรือที่สาธารณะ หรือสถานที่ใดโดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน

2. ละทิ้งเด็กไว้ ณ สถานที่ใด ๆ โดยไม่จัดให้มีการป้องกัน ดูแลสวัสดิภาพหรือให้การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม

3. จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือสุขภาพอนามัยจนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก

4. ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก

5. ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ

6. กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก

7. จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือการรักษาพยาบาลแก่เด็ก

8. บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูงส่งเสริมหรือยินยอมให้เดกประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิดหรือใช้เด็กเป็น เครื่องมือในการขอทานหรือแสวงหาประโยชน์จากเด็กโดยมิชอบ หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนัน แสดงหรือกระทำอันมีลักษณะลามกอนาจารหรือจำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก

เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์

การสงเคราะห์

จะเน้นการให้บริการแก่เด็กและครอบครัวโดยร่วมมือกับผู้ปกครอง เพื่อให้เด็กได้รับการเลี้ยงดูตามมาตรฐานขั้นต่ำ เป็นการช่วยเติมสิ่งที่ขาดให้แก่ครอบครัวเพื่อให้ พ่อ แม่ ลูก อาศัยอยู่ด้วยกันตามปกติ หรืออาจจะมีการแยกตัวเด็กออกจากครอบครัวเป็นการชั่วคราว เพื่อช่วยให้พ่อแม่สามารถปรับตัวในการอุปการะเลี้ยงดูลูกได้ตามที่ควรจะเป็น

วิธีการสงเคราะห์มีหลายประการ เช่น
-ให้ความช่วยเหลือใด ๆ ที่ทำให้ผู้ปกครองสามารถอุปการะเลี้ยงดูเด็กได้ตามมาตรา 23 รวมทั้งการให้คำแนะนำปรึกษา การบำบัดฟื้นฟู

-การฝึกทักษะที่จำเป็นต่อการอุปการะเลี้ยงดูเด็ก

-มอบเด็กให้ผู้เหมาะสมอุปการะเลี้ยงดูแทนไม่เกิน 1 เดือน

-กรณีเด็กกำพร้า ดำเนินการเพื่อให้เด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

-ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในครอบครัวอุปถัมภ์ สถานแรกรับ สถานสงคราะห์ สถานบำบัดฟื้นฟูสมรรภาพ ฝึกหัดอาชีพ เป็นต้น

การคุ้มครองสวัสดิภาพ คือ

กระบวนการจัดความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบุคคลในครอบครัวใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อเด็กและเพื่อไม่ให้เดกกระทำผิดหรือ

เสี่ยงต่อการกระทำผิด เด็กที่ควรได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพได้แก่

– เด็กที่ถูกทารุณกรรม

– เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด

– เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

การคุ้มครองสวัสดิภาพรัฐอาจมีความจำเป็นต้องแยกตัวเด็กออกจากครอบครัว เพื่อความปลอดภัยของเด็ก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของผู้ปกครองและการปฏิบัติใด ๆ จะกระทำอย่างรอบคอบโดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นที่ตั้ง
ที่มา:มูลนิธิอาสาพัฒนาเด็ก

เบื้องหลังการผลิตผลงาน

1. ค้นหาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเด็กเร่ร่อน

2. คิดวิเคราะห์ในการนำเสนอข้อมูลในประเด็นหลัก

3. หาข้อมูลแหล่งข่าวสารที่เกี่ยวข้องเพื่อการตรวจสอบข้อมูล

4. รวบรวมข้อมูลทั้งหมดก่อนการปฎิบัติงาน

5. สรุปเนื้อหาและข้อมูลครั้งสุดท้ายก่อนการนำเสนอ

6. นำเสนอผลงาน

ใส่ความเห็น